ประวัติความเป็นมามูลนิธิทวีปัญญา

 

ที่มามูลนิธิฯ

 

          มูลนิธิทวีปัญญา เริ่มก่อตั้งจากมติคณะกรรมการบริหาร สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ ในการเห็นควรจัดตั้งมูลนิธิฯ เพื่อขับเคลื่อนและพัฒนาห้องสมุดที่ขาดแคลนของประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น โดยคณะผู้ก่อการจำนวน 6 คน ประกอบด้วย

  1. ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต
  2. ศาสตรเมธีสุวคนธ์ ศิริวงศ์วรวัฒน์
  3. นางสาวเอมอร ตันเถียร
  4. นางสาววรรษมน เสาวคนธ์เสถียร
  5. นาวาอากาศเอกหญิง นวรัตน์ ทองสลวย
  6. นางสาวสุจิตร สุวภาพ

          ดำเนินการหาทุนแรกเริ่มและยกร่าง บังคับมูลนิธิฯ โดยมีการประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 เมษายน2556  เพื่อยกร่างข้อบังคับมูลนิธิทวีปัญญา  การใช้งบประมาณสำหรับจดทำเบียนมูลนิธิฯ ซึ่งได้รับจากกองทุนที่มีผู้บริจาคเพื่อการพัฒนาและวิจัยด้านห้องสมุด จำนวน 159,161.62 บาท รวมทั้งได้รับบริจาคของผู้ได้รับรางวัลศาสตราจารย์ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต (ด้านการพัฒนาห้องสมุด) ตั้งแต่ พ.ศ. 2550-2555 จำนวน 80,000 บาท รวมเป็นจำนวน 239,161.62 บาท  ทั้งนี้มูลนิธิฯ มีทุนเริ่มแรกจำนวน 610,435 บาท โดยการได้มาซึ่งทรัพย์สินจากผู้มีจิตศรัทธาบริบาค ดอกผลซึ่งเกิดจากทรัพย์สินของมูลนิธิ หรือ รายได้อื่น ๆ 

          มูลนิธิทวีปัญญา ได้ดำเนินการจดทะเบียนเรียบร้อยเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2560  โดยมีคณะกรรมการมูลนิธิฯ ดำเนินงานดังนี้

  1. นางสุวคนธ์ ศิริวงศ์วรวัฒน์ ปรธานธรรมการ
  2. นางสาวเอมอร ตันเถียร รองประธานกรรมการ
  3. คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต กรรมการ
  4. นางสาวทัศนา หาญพล กรรมการ
  5. นายประจักษ์ วัฒนานุสิทธิ์ กรรมการ
  6. นางสาวพูลสุข ปริวัตรวรวุฒิ กรรมการ
  7. นางวีระวรรณ วรรณโท กรรมการและเหรัญญิ
  8. นางสาวสุจิตร สุวภาพ กรรมการและเลขานุการ
  9. นางสาววรรษมน เสาวคนธ์เสถียร กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ                 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อพัฒนาห้องสมุดที่ขาดแคลนในด้านกายภาพห้องสมุด ทรัพยากรห้องสมุด การจัดหลักสูตรอบรมครูบรรณารักษ์ ผู้ให้บริการห้องสมุด การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
  2. เพื่อสร้างวัฒนธรรมการอ่านที่ยั่งยืนให้แก่เยาวชน ชุมชน และสังคม
  3. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนผู้ทำความดีเพื่อสังคม ด้านการพัฒนาห้องสมุด
  4. ร่วมมือกับองค์การอื่น ๆ ในการส่งเสริมและพัฒนาห้องสมุด
  5. ดำเนินการเพื่อสาธารณประโยชน์ หรือร่วมมือกับองค์การอื่นๆ เพื่อพัฒนาห้องสมุด
  6. ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่ประการใด 

การดำเนินงานของคณะกรรมการมูลนิธิ

           มูลนิธิฯ ดำเนินการโดยคณะกรรมการมูลนิธิฯ มีจำนวนไม่น้อยกว่า 7 คน แต่ไม่เกิน 11 คน ประกอบด้วย ประธาน รองประธาน  ที่ปรึกษา กรรมการ เหรัญญิก เลขานุการ ผู้ช่วยเลขานุการ และตำแหน่งอื่น ๆ ตามแต่คณะกรรมการมูลนิธิจะเห็นควรทั้งนี้ในวาระเริ่มแรก ให้คณะกรรมการผู้ริเริ่มจัดตั้งมูลนิธิ เป็นผู้เลือกคณะกรรมการดำเนินงานของมูลนิธิขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วย ประธานคณะกรรมการมูลนิธิ และกรรมการอื่น ๆ ตามจำนวนที่เห็นสมควรโดยกรรมการดำเนินงานมูลนิธิฯ อยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี

โครงการ/กิจกรรมที่สำคัญ

          พ.ศ. 2560

          มูลนิธิฯ เริ่มดำเนินโครงการเชิดชูผู้ทำความดีเพื่อสังคม ตามที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากมูลนิธิตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ นำเสนอโครงการฯโดยมูลนิธิฯ มีรูปแบบการลงพื้นที่แบ่งออกเป็น

  1. การพัฒนาห้องสมุดพร้อมปัญญา เรือนจำ/ทัณฑสถาน  ตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ในการสร้างคนดี ผ่านการเรียนรู้จากห้องสมุด  โดยพัฒนาห้องสมุดให้มีความพร้อมทั้งด้านกายภาพ  ทรัพยากรห้องสมุด และกิจกรรมส่งเสริมการเรียน การอ่าน ของผู้ต้องขับ ที่ว่า “ถ้าสังคมไม่ให้โอกาส  จะไม่มีคนดีกลับสู่สังคม”  ดังนั้นสมาคมฯ จึงได้รับแนวพระราชดำริฯ ดังกล่าว พัฒนาห้องสมุดพร้อมปัญญา เรือนจำ/ทัณฑสถาน ในปี 2560 จำนวน 4 แห่ง  ได้แก่
    • ห้องสมุดพร้อมปัญญา เรือนจำกลางสมุทรปราการ สนับสนุนโปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ PMB
    • ห้องสมุดพร้อมปัญญา เรือนจำจังหวัดอุทัยธานี สนับสนุนโปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ PMB         
    • ห้องสมุดพร้อมปัญญา ทัณฑสถานหญิงพิษณุโลก สนับสนุนโปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ PMB         
    • ห้องสมุด ทัณฑสถานเปิดทุ่งเบญจา จังหวัดจันทบุรี สนับสนุนหนังสือ
  2. การพัฒนาห้องสมุดโรงเรียนที่ขาดแคลน/ประสบอุทกภัย สมาคมฯ ตระหนักถึงการขาดแคลนงบประมาณของหน่วยราชการ ในการพัฒนาห้องสมุดไม่ทั่วถึง  ดังนั้นจึงสนับสนุนโรงเรีนที่มีความประสงค์ต้องการพัฒนาห้องสมุดในเชิงรุก เพื่อสนองความต้องการของชุมชน โดยในปี 2560 ได้พัฒนาห้องสมุดที่ขาดแคลนและที่ประสบอุทกภัย จำนวน  4 แห่ง  ได้แก่
    • ห้องสมุดโรงเรียน จังหวัดสกลนคร   บริจาคหนังสือ  
    • ห้องสมุดประชาชนจังหวัดสกลนคร บริจาคหนังสือ  
    • ห้องสมุดโรงเรียนห้วยกรด จังหวัดชัยนาท  บริจาคคอมพิวเตอร์และหนังสือ  
    • ห้องสมุดโรงเรียนมีชัยพัฒนา จังหวัดบุรีรัมย์ บริจาคคอมพิวเตอร์และหนังสือ  
  3. โครงการพัฒนา/แลกเปลี่ยนเครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์อาเซียน
    • การลงนามความร่วมมือระหว่างสมาคมฯ และสมาคมบรรณารักษ์แห่งประเทศฟิลิปปินส์ ณ เมืองบาโค-ลอค ฟิลิปปินส์  ระหว่างวันที่ 21-25 พฤศจิกายน 2560
    • การพัฒนาบรรณารักษ์ประเทศกัมพูชา โดยการจัดอบรมหลักสูตรบรรณารักษศาสตร์ การทัศนศึกษาดูงานห้องสมุดในประเทศไทย ได้แก่  ห้องสมุดมารวย  หอสมุดแห่งชาติ  ห้องสมุดสีเขียว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ระหว่างวันที่ 8-12 กุมภาพันธ์ 2560 ณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
    • การประชุมสภาบรรณารักษ์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ณ เมืองเนย์บิดอร์ ประเทศพม่า ระหว่างวันที่ 2-4 พฤษภาคม 2560 เพื่อสร้างและส่งเสริมความสัมพันธ์ ตลอดจนสนับสนุนทางวิชาการและความร่วมมือระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน
    • การประชุมสหพันธ์ระหว่างประเทศว่าด้วยสมาคมและสถาบันห้องสมุดณ ประเทศมาเลเซีย ระหว่างวันที่  24-30 สิงหาคม 2560  เพื่อแลกเปลี่ยนและเตรียมความพร้อมในการที่ประเทศไทย ได้รับการคัดเลือกจากการประมูลสิทธิ์ ในการเป็นเจ้าภาพในประเทศไทย ปี 2020

          พ.ศ. 2561

          มูลนิธิฯ ได้จัดดำเนินการจัดโครงการฯ ดังนี้

 1. โครงการ Library for ALL         

             ห้องสมุดพร้อมปัญญา กรมราชทัณฑ์ ห้องสมุดโรงเรียน จำนวน 5 แห่ง

             การอบรมหลักสูตรการจัดการองค์ความรู้ ห้องสมุดและวิชาชีพบรรณารักษ์ รุ่นที่ 4     

 2. โครงการพัฒนา/แลกเปลี่ยนเครือข่ายอาเซียน : ลาว กัมพูชา ฟิลิปปินส์      

 3. โครงการ The Book of My Life : Reader & Librarian in Bangkok  รณรงค์และส่งเสริมการอ่านสำหรับบุคคลากรต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานคร    โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหาร  ผู้นำ  Net Idea ของสังคม  ตลอดจนบรรณารักษ์  เพื่อกระตุ้น และส่งเสริมการอ่านสำหรับเด็ก เยาวชนและประชาชน ให้รักการอ่าน  โดยการจัดทำและนำเสนอหนังสือที่ชื่นชอบของแต่ละท่านและนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ ประจำวัน ประจำ เดือน ผ่านสื่อสังคมออนไลน์

 4. การเยี่ยมคนดีเพื่อสนับสนุนสร้างความสัมพันธ์และแรงบันดาลใจในการพัฒนาห้องสมุด

 5. การติดตามและประเมินคัดเลือกคนดี เพื่อรับรางวัล ศ.คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต                  

          พ.ศ. 2562

ในปีที่ 3 มูลนิธิฯ ได้บริหารและจัดการโครงการฯ ต่าง ๆ ดังนี้

  1. โครงการ Library for ALL สำหรับห้องสมุดต่าง ๆ ได้แก่
    • ห้องสมุดพร้อมปัญญา กรมราชทัณฑ์ จำนวน 3 แห่ง ดังนี้
  • * เรือนจำจังหวัดนครพนม
  • * เรือนจำจังหวัดระยอง
  • * เรือนจำจังหวัดตรัง

1.2   หอพระไตรปิฏกนานาชาติ สถาบันปัญญาวิชชาลัย วัดชลประทานรังสฤษดิ์ จ.นนทบุรี

  1. โครงการ Library : Care the Bear ดำเนินการจัดกิจกรรมดังกล่าว จำนวน 3 ครั้ง ดังนี้

         1.1 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กทม.  จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 300 คน

         1.2 มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต  จ.ภูเก็ต  จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 100 คน

         1.3  มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง  จ.เชียงราย  จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 150 คน

  1. โครงการ Book of MY Life

             เพื่อรณรงค์และส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่านของสังคมและชุมชน  ค้นหา รวบรวม และจัดทำหนังสือแรงบันดาลใจของผู้บริหาร ผู้นำทางสังคม Net Idol    เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ กระตุ้น และส่งเสริมการอ่านต่อสังคมและชุมชน ตลอดจนสร้างลูกโซ่แห่งการอ่าน ในการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในประเทศอย่างเป็นรูปธรรม  ขณะนี้รวบรวมข้อมูลจากผู้สร้างแรงบันดาลใจได้ 25 คน

  1. โครงการละครเพลงการกุศล จำนวน 2 เรื่อง สนับสนุนละครเพลงการกุศล   เพื่อสร้างโอกาส

ให้แก่เยาวชน ได้มีโอกาสสร้างสรรค์ จินตนาการ และจุดประกายความคิด และการพัฒนาคุณภาพชีวิต จำนวน 2 ครั้ง  ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่ ครูและนักเรียนจากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 20 คน ครูและนักเรียนจากโรงเรียนศูนย์รวมน้ำใจ  20 คน  ครูและนักเรียนจากโรงเรียนคนตาบอด จำนวน 20 คน

          พ.ศ. 2563

  1. โครงการ Library for ALL

              สนับสนุนห้องสมุดพอเพียง จังหวัดระยอง  ห้องสมุดโรงเรียน จำนวน 2 แห่ง

  1. กิจกรรม “ตู้ปันสุข” เพื่อชุมชนบางกะปิ
  2. โครงการ Library : Care the Bear จำนวน 3 ครั้ง ดังนี้

         3.1 มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร

         3.2 มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตเพชรบุรี

         3.3 มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม

 

ติดต่อเรา


ที่อยู่: ๑๓๔๖ ถนนอาคารสงเคราะห์ ๕ คลองจั่น บางกะปิ กรุงเทพฯ ๑๐๒๔
โทร : ๐-๒๗๓๔-๙๐๒๒, ๐๘๙-๘๙๓-๙๓๙๗ 
โทรสาร : ๐-๒๗๓๔-๙๐๒๑ www.tla.or.th
ID Line : tla2497

{source}<