ที่มามูลนิธิฯ
มูลนิธิทวีปัญญา เริ่มก่อตั้งจากมติคณะกรรมการบริหาร สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ ในการเห็นควรจัดตั้งมูลนิธิฯ เพื่อขับเคลื่อนและพัฒนาห้องสมุดที่ขาดแคลนของประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น โดยคณะผู้ก่อการจำนวน 6 คน ประกอบด้วย
- ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต
- ศาสตรเมธีสุวคนธ์ ศิริวงศ์วรวัฒน์
- นางสาวเอมอร ตันเถียร
- นางสาววรรษมน เสาวคนธ์เสถียร
- นาวาอากาศเอกหญิง นวรัตน์ ทองสลวย
- นางสาวสุจิตร สุวภาพ
ดำเนินการหาทุนแรกเริ่มและยกร่าง บังคับมูลนิธิฯ โดยมีการประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 เมษายน2556 เพื่อยกร่างข้อบังคับมูลนิธิทวีปัญญา การใช้งบประมาณสำหรับจดทำเบียนมูลนิธิฯ ซึ่งได้รับจากกองทุนที่มีผู้บริจาคเพื่อการพัฒนาและวิจัยด้านห้องสมุด จำนวน 159,161.62 บาท รวมทั้งได้รับบริจาคของผู้ได้รับรางวัลศาสตราจารย์ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต (ด้านการพัฒนาห้องสมุด) ตั้งแต่ พ.ศ. 2550-2555 จำนวน 80,000 บาท รวมเป็นจำนวน 239,161.62 บาท ทั้งนี้มูลนิธิฯ มีทุนเริ่มแรกจำนวน 610,435 บาท โดยการได้มาซึ่งทรัพย์สินจากผู้มีจิตศรัทธาบริบาค ดอกผลซึ่งเกิดจากทรัพย์สินของมูลนิธิ หรือ รายได้อื่น ๆ
มูลนิธิทวีปัญญา ได้ดำเนินการจดทะเบียนเรียบร้อยเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2560 โดยมีคณะกรรมการมูลนิธิฯ ดำเนินงานดังนี้
- นางสุวคนธ์ ศิริวงศ์วรวัฒน์ ปรธานธรรมการ
- นางสาวเอมอร ตันเถียร รองประธานกรรมการ
- คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต กรรมการ
- นางสาวทัศนา หาญพล กรรมการ
- นายประจักษ์ วัฒนานุสิทธิ์ กรรมการ
- นางสาวพูลสุข ปริวัตรวรวุฒิ กรรมการ
- นางวีระวรรณ วรรณโท กรรมการและเหรัญญิ
- นางสาวสุจิตร สุวภาพ กรรมการและเลขานุการ
- นางสาววรรษมน เสาวคนธ์เสถียร กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
วัตถุประสงค์
- เพื่อพัฒนาห้องสมุดที่ขาดแคลนในด้านกายภาพห้องสมุด ทรัพยากรห้องสมุด การจัดหลักสูตรอบรมครูบรรณารักษ์ ผู้ให้บริการห้องสมุด การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
- เพื่อสร้างวัฒนธรรมการอ่านที่ยั่งยืนให้แก่เยาวชน ชุมชน และสังคม
- เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนผู้ทำความดีเพื่อสังคม ด้านการพัฒนาห้องสมุด
- ร่วมมือกับองค์การอื่น ๆ ในการส่งเสริมและพัฒนาห้องสมุด
- ดำเนินการเพื่อสาธารณประโยชน์ หรือร่วมมือกับองค์การอื่นๆ เพื่อพัฒนาห้องสมุด
- ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่ประการใด
การดำเนินงานของคณะกรรมการมูลนิธิ
มูลนิธิฯ ดำเนินการโดยคณะกรรมการมูลนิธิฯ มีจำนวนไม่น้อยกว่า 7 คน แต่ไม่เกิน 11 คน ประกอบด้วย ประธาน รองประธาน ที่ปรึกษา กรรมการ เหรัญญิก เลขานุการ ผู้ช่วยเลขานุการ และตำแหน่งอื่น ๆ ตามแต่คณะกรรมการมูลนิธิจะเห็นควรทั้งนี้ในวาระเริ่มแรก ให้คณะกรรมการผู้ริเริ่มจัดตั้งมูลนิธิ เป็นผู้เลือกคณะกรรมการดำเนินงานของมูลนิธิขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วย ประธานคณะกรรมการมูลนิธิ และกรรมการอื่น ๆ ตามจำนวนที่เห็นสมควรโดยกรรมการดำเนินงานมูลนิธิฯ อยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี
โครงการ/กิจกรรมที่สำคัญ
พ.ศ. 2560
มูลนิธิฯ เริ่มดำเนินโครงการเชิดชูผู้ทำความดีเพื่อสังคม ตามที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากมูลนิธิตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ นำเสนอโครงการฯโดยมูลนิธิฯ มีรูปแบบการลงพื้นที่แบ่งออกเป็น
- การพัฒนาห้องสมุดพร้อมปัญญา เรือนจำ/ทัณฑสถาน ตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการสร้างคนดี ผ่านการเรียนรู้จากห้องสมุด โดยพัฒนาห้องสมุดให้มีความพร้อมทั้งด้านกายภาพ ทรัพยากรห้องสมุด และกิจกรรมส่งเสริมการเรียน การอ่าน ของผู้ต้องขับ ที่ว่า “ถ้าสังคมไม่ให้โอกาส จะไม่มีคนดีกลับสู่สังคม” ดังนั้นสมาคมฯ จึงได้รับแนวพระราชดำริฯ ดังกล่าว พัฒนาห้องสมุดพร้อมปัญญา เรือนจำ/ทัณฑสถาน ในปี 2560 จำนวน 4 แห่ง ได้แก่
- ห้องสมุดพร้อมปัญญา เรือนจำกลางสมุทรปราการ สนับสนุนโปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ PMB
- ห้องสมุดพร้อมปัญญา เรือนจำจังหวัดอุทัยธานี สนับสนุนโปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ PMB
- ห้องสมุดพร้อมปัญญา ทัณฑสถานหญิงพิษณุโลก สนับสนุนโปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ PMB
- ห้องสมุด ทัณฑสถานเปิดทุ่งเบญจา จังหวัดจันทบุรี สนับสนุนหนังสือ
- การพัฒนาห้องสมุดโรงเรียนที่ขาดแคลน/ประสบอุทกภัย สมาคมฯ ตระหนักถึงการขาดแคลนงบประมาณของหน่วยราชการ ในการพัฒนาห้องสมุดไม่ทั่วถึง ดังนั้นจึงสนับสนุนโรงเรีนที่มีความประสงค์ต้องการพัฒนาห้องสมุดในเชิงรุก เพื่อสนองความต้องการของชุมชน โดยในปี 2560 ได้พัฒนาห้องสมุดที่ขาดแคลนและที่ประสบอุทกภัย จำนวน 4 แห่ง ได้แก่
- ห้องสมุดโรงเรียน จังหวัดสกลนคร บริจาคหนังสือ
- ห้องสมุดประชาชนจังหวัดสกลนคร บริจาคหนังสือ
- ห้องสมุดโรงเรียนห้วยกรด จังหวัดชัยนาท บริจาคคอมพิวเตอร์และหนังสือ
- ห้องสมุดโรงเรียนมีชัยพัฒนา จังหวัดบุรีรัมย์ บริจาคคอมพิวเตอร์และหนังสือ
- โครงการพัฒนา/แลกเปลี่ยนเครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์อาเซียน
- การลงนามความร่วมมือระหว่างสมาคมฯ และสมาคมบรรณารักษ์แห่งประเทศฟิลิปปินส์ ณ เมืองบาโค-ลอค ฟิลิปปินส์ ระหว่างวันที่ 21-25 พฤศจิกายน 2560
- การพัฒนาบรรณารักษ์ประเทศกัมพูชา โดยการจัดอบรมหลักสูตรบรรณารักษศาสตร์ การทัศนศึกษาดูงานห้องสมุดในประเทศไทย ได้แก่ ห้องสมุดมารวย หอสมุดแห่งชาติ ห้องสมุดสีเขียว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระหว่างวันที่ 8-12 กุมภาพันธ์ 2560 ณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- การประชุมสภาบรรณารักษ์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ณ เมืองเนย์บิดอร์ ประเทศพม่า ระหว่างวันที่ 2-4 พฤษภาคม 2560 เพื่อสร้างและส่งเสริมความสัมพันธ์ ตลอดจนสนับสนุนทางวิชาการและความร่วมมือระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน
- การประชุมสหพันธ์ระหว่างประเทศว่าด้วยสมาคมและสถาบันห้องสมุดณ ประเทศมาเลเซีย ระหว่างวันที่ 24-30 สิงหาคม 2560 เพื่อแลกเปลี่ยนและเตรียมความพร้อมในการที่ประเทศไทย ได้รับการคัดเลือกจากการประมูลสิทธิ์ ในการเป็นเจ้าภาพในประเทศไทย ปี 2020
พ.ศ. 2561
มูลนิธิฯ ได้จัดดำเนินการจัดโครงการฯ ดังนี้
1. โครงการ Library for ALL
ห้องสมุดพร้อมปัญญา กรมราชทัณฑ์ ห้องสมุดโรงเรียน จำนวน 5 แห่ง
การอบรมหลักสูตรการจัดการองค์ความรู้ ห้องสมุดและวิชาชีพบรรณารักษ์ รุ่นที่ 4
2. โครงการพัฒนา/แลกเปลี่ยนเครือข่ายอาเซียน : ลาว กัมพูชา ฟิลิปปินส์
3. โครงการ The Book of My Life : Reader & Librarian in Bangkok รณรงค์และส่งเสริมการอ่านสำหรับบุคคลากรต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหาร ผู้นำ Net Idea ของสังคม ตลอดจนบรรณารักษ์ เพื่อกระตุ้น และส่งเสริมการอ่านสำหรับเด็ก เยาวชนและประชาชน ให้รักการอ่าน โดยการจัดทำและนำเสนอหนังสือที่ชื่นชอบของแต่ละท่านและนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ ประจำวัน ประจำ เดือน ผ่านสื่อสังคมออนไลน์
4. การเยี่ยมคนดีเพื่อสนับสนุนสร้างความสัมพันธ์และแรงบันดาลใจในการพัฒนาห้องสมุด
5. การติดตามและประเมินคัดเลือกคนดี เพื่อรับรางวัล ศ.คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต
พ.ศ. 2562
ในปีที่ 3 มูลนิธิฯ ได้บริหารและจัดการโครงการฯ ต่าง ๆ ดังนี้
- โครงการ Library for ALL สำหรับห้องสมุดต่าง ๆ ได้แก่
- ห้องสมุดพร้อมปัญญา กรมราชทัณฑ์ จำนวน 3 แห่ง ดังนี้
- * เรือนจำจังหวัดนครพนม
- * เรือนจำจังหวัดระยอง
- * เรือนจำจังหวัดตรัง
1.2 หอพระไตรปิฏกนานาชาติ สถาบันปัญญาวิชชาลัย วัดชลประทานรังสฤษดิ์ จ.นนทบุรี
- โครงการ Library : Care the Bear ดำเนินการจัดกิจกรรมดังกล่าว จำนวน 3 ครั้ง ดังนี้
1.1 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กทม. จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 300 คน
1.2 มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จ.ภูเก็ต จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 100 คน
1.3 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 150 คน
- โครงการ Book of MY Life
เพื่อรณรงค์และส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่านของสังคมและชุมชน ค้นหา รวบรวม และจัดทำหนังสือแรงบันดาลใจของผู้บริหาร ผู้นำทางสังคม Net Idol เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ กระตุ้น และส่งเสริมการอ่านต่อสังคมและชุมชน ตลอดจนสร้างลูกโซ่แห่งการอ่าน ในการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในประเทศอย่างเป็นรูปธรรม ขณะนี้รวบรวมข้อมูลจากผู้สร้างแรงบันดาลใจได้ 25 คน
- โครงการละครเพลงการกุศล จำนวน 2 เรื่อง สนับสนุนละครเพลงการกุศล เพื่อสร้างโอกาส
ให้แก่เยาวชน ได้มีโอกาสสร้างสรรค์ จินตนาการ และจุดประกายความคิด และการพัฒนาคุณภาพชีวิต จำนวน 2 ครั้ง ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่ ครูและนักเรียนจากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 20 คน ครูและนักเรียนจากโรงเรียนศูนย์รวมน้ำใจ 20 คน ครูและนักเรียนจากโรงเรียนคนตาบอด จำนวน 20 คน
พ.ศ. 2563
- โครงการ Library for ALL
สนับสนุนห้องสมุดพอเพียง จังหวัดระยอง ห้องสมุดโรงเรียน จำนวน 2 แห่ง
- กิจกรรม “ตู้ปันสุข” เพื่อชุมชนบางกะปิ
- โครงการ Library : Care the Bear จำนวน 3 ครั้ง ดังนี้
3.1 มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร
3.2 มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตเพชรบุรี
3.3 มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม